โรคร้ายแรงคืออะไร และการเตรียมพร้อมทางการเงินเพื่อรับมือกับมัน
1. โรคร้ายแรงคืออะไร?
- โรคร้ายแรงหมายถึงกลุ่มของโรคที่มีความรุนแรงและส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย โรคเหล่านี้มักต้องการการรักษาในระยะยาว มีค่าใช้จ่ายสูง และอาจทำให้เกิดความเสียหายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างของโรคร้ายแรงได้แก่:
- โรคมะเร็ง (Cancer)
โรคร้ายแรงอันดับหนึ่งในประเทศไทยที่มีแนวโน้มอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อย ๆ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายนอก เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง หรือปัจจัยภายใน เช่น การผิดปกติทางพันธุกรรม ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น สำหรับการรักษาโรคมะเร็งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง ทั้งการใช้เคมีบำบัด การผ่าตัด การใช้รังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูงในการรักษาและพักฟื้น
- โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD)
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease : CAD) เกิดจากไขมันอุดตันตามเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจจนหลอดเลือดหัวใจตีบและตัน เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ใครที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือมีโรคประจำตัวอย่างโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูง ซึ่งความน่ากลัวของโรคนี้ คือ เป็นภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการหรือความผิดปกติใด ๆ กว่าจะรู้ตัวก็อาจเข้าสู่ภาวะรุนแรงแล้ว ดังนั้นรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนอะไรจะสายเกินไป
- โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
โรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) เป็นโรคร้ายแรงที่เกิดจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก ขาบวม แน่นหน้าอก เป็นต้น กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันอาจอันตรายถึงชีวิตได้
- โรคหลอดเลือดสมอง (Major Stroke)
โรคหลอดเลือดสมอง (Major Stroke) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หลอดเลือดสมองแตก และหลอดเลือดสมองตีบ ตัน เกิดจากภาวะที่เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้เซลล์สมองขาดเลือดและออกซิเจน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเซลล์สมองจะค่อย ๆ ตายลงในที่สุด โดยลักษณะอาการที่สังเกตได้ คือ มีอาการอ่อนแรงที่ใบหน้า ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น หากหลอดเลือดสมองตีบ ตันซ้ำ มีโอกาสเกิดภาวะสมองเสื่อมตามมาภายหลังได้ เรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายแรงที่น่ากลัวกว่าที่คิด
- โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure)
โรคร้ายแรงสุดท้าย คือ โรคไตวายเรื้อรัง (Chronic Kidney Failure) เป็นภาวะที่ไตถูกทำลายจนสูญเสียการทำงานทีละน้อย หรือไตมีความผิดปกติเกินกว่า 3 เดือน หากปล่อยไว้จนมีอาการแย่ลงจะนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งหลายคนไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคไตอยู่จนกว่าจะมีอาการรุนแรง เพราะในระยะแรกจะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกระทั่งไตถูกทำลายไปมากกว่า 50% จะเริ่มแสดงอาการ เช่น อ่อนแรง เท้าและข้อเท้าบวม เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เป็นต้น โดยไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป การรักษาจึงทำได้เพียงมุ่งเน้นไปที่การชะลอความเสียหายของไต
- โรคมะเร็ง (Cancer)
2. ผลกระทบจากโรคร้ายแรง
- โรคร้ายแรงส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกาย จิตใจ และการเงิน โดยเฉพาะการรักษาในระยะยาวหรือการต้องพักฟื้นจากอาการที่รุนแรง ค่าใช้จ่ายในการรักษารวมถึงการดูแลฟื้นฟูที่เกี่ยวข้องอาจสูงมาก ซึ่งทำให้ครอบครัวและผู้ป่วยต้องมีการเตรียมการทางการเงินไว้ล่วงหน้า
3. การป้องกันและรับมือทางการเงิน
- เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคร้ายแรง ควรมีการทำประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคร้ายแรงต่างๆ หรือการทำประกันโรคร้ายแรง (Critical Illness Insurance) เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษา ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงินในกรณีที่เกิดโรคร้ายแรง
- ความสำคัญของประกันโรคร้ายแรง: ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าจะมีเงินเพียงพอในการรักษา และยังครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่อาจไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น การฟื้นฟูร่างกายหรือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเมื่อคุณไม่สามารถทำงานได้
- ประกันสุขภาพครอบคลุมอะไรบ้าง?: แผนประกันสุขภาพที่มีการคุ้มครองโรคร้ายแรงจะช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดหรือตามสัดส่วนที่ระบุในกรมธรรม์
4. การตัดสินใจในการทำประกัน
- เมื่อเลือกประกันโรคร้ายแรง ควรคำนึงถึง:
- จำนวนเงินคุ้มครองที่เหมาะสมกับรายได้และไลฟ์สไตล์ของคุณ
- อายุและประวัติสุขภาพของตนเอง
- ประเภทของโรคที่กรมธรรม์ครอบคลุม